วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

Ar-Rahman Ar-Raheem 3

Ar-Rahman Ar-Raheem (ตอนที่ 3)
ความแตกต่างระหว่าง เราะฮฺมาน และ รอฮีม
อัรเราะฮฺมานเป็นนามที่ชี้ไปสู่คุณลักษณะของแก่นแท้ของอัลลอฮฺ และอัรรอฮีมเป็นนามที่ชี้ไปสู่คุณลักษณะของการกระทำ  เราะฮฺมาน คือผู้ที่ครอบครองความเมตตา และ
รอฮีม คือ ผู้ที่ประทานความเมตตานั้นให้.
อิบนุลกอยยิม กล่าวว่า "อัรเราะฮฺมานบ่งชี้ไปสู่คุณลักษณะที่มีปรากฏอยู่ในตัวของพระองค์ และอัรรอฮีมบ่งชี้ถึงการปฏิสัมพันธ์กับผู้รับของความเมตตา หากท่านต้องการที่จะเข้าใจสิ่งนี้ จงใคร่ครวญคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
هُوَالَّذِىْ يُصَلِّىْ عَلَيْكُمْ وَمَلٰۤئِكَتُهٗ لِيُخْرِجَكُمْ مِّنَ الظُّلُمٰتِ اِلَى النُّوْرِۚ   وَكَانَ بِالْـمُؤْمِنِيْنَ رَحِيْمًا ۝
"พระองค์คือผู้ทรงประทานความเมตตาให้แก่พวกเจ้าและมลาอิกะหฺของพระองค์ด้วย เพื่อพระองค์จะทรงนำพวกเจ้าออกจากความมืดทึบทั้งหลายสู่ความสว่าง และพระองค์ทรงเมตตาต่อบรรดาผู้ศรัทธาเสมอ"  (อัลอะฮฺซาบ 43)
الرَّحْمٰنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوٰى ۝
"ผู้ทรงกรุณาปรานีทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์"   (ตอฮา5)
ไม่มีแม้เพียงสักครั้งที่มีการกล่าวว่า พระองค์ทรง เราะฮฺมาน กับพวกเขา เรื่องนี้พิสูจน์ว่า อัรเราะฮฺมาน พาดพิงเกี่ยวกับผู้ที่มีลักษณะเมตตา ส่วน อัรรอฮีม คือผู้ที่ประทานความเมตตานั้น"

อธิบายอีกแบบหนึ่งคือ
อัรเราะฮฺมานคือผู้ที่มีความเมตตาซึ่งขยายวงกว้างไปสู่สิ่งถูกสร้างทั้งมวล ทั้งในโลกนี้และกับผู้ศรัทธาในปรโลก  ดังนั้นพระองค์ทรงเมตตาทั้งกับผู้ศรัทธาและกับผู้ที่ไม่ศรัทธาทั้งหลาย กับผู้ที่เป็นมิตรและกับศัตรู  เราะฮฺมานคือประเภททั่วไปของความเมตตา
ในอีกด้านหนึ่งอัรรอฮีม คือผู้ที่มีความเมตตาซึ่งแผ่ขยายไปสู่ผู้ศรัทธาโดยเฉพาะทั้งในโลกนี้และในปรโลก.
นี่คือประเภทที่พิเศษของความเมตตาแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย และมันเป็นระดับที่สูงส่งของความเมตตา. ความเมตตาประเภทนี้เป็นความเมตตาซึ่งอัลลอฮฺทรงดูแลกรณีย์ต่างๆของผู้ศรัทธาอย่างเป็นภายใน ในแง่ของการดูแลสภาพของหัวใจของพวกเขา บำรุงอีหม่านและตบแต่งมันให้พวกเขา ประทานเตาฟีกให้พวกเขา ฯลฯ นี่อาจเป็นไปได้ว่าเพราะเหตุใด
รอฮีม จึงถูกพูดถึงเป็นสองเท่าของ เราะฮฺมะหฺ  เพราะว่ามันมีขั้นของความเมตตาที่สูงกว่า และในความเป็นจริงมันถูกใช้โดยอัลลอฮฺมากกว่าประเภททั่วไปของความเมตตา
 ที่กล่าวมาคือความเข้าใจของบรรดาอุลามาอฺส่วนมาก

ผลของการได้รู้ว่าอัลลอฮฺทรงเป็นทั้งอัรเราะฮฺมานและอัรรอฮีม
หากคุณรู้ว่าอัลลอฮฺทรงเมตตาต่อคุณ สิ่งนี้จะต้องส่งผลต่อชีวิตของคุณ
1.ไม่สามารถเลี่ยงความรักของเราต่ออัลลอฮฺได้.
นี่เป็นเพราะว่า เมื่อมีผู้หนึ่งแสดงความเมตตาอย่างมากมายต่อคุณ,คุณจะไม่สามารถทำอย่างอื่นได้เว้นแต่จะรักผู้นั้น.
2.มันค่อยๆ ซึมซาบเข้าไปในผู้ศรัทธาซึ่งสำนึกของความกลัวต่อการฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์.
เพราะว่าเมื่อมีผู้หนึ่งได้โปรยปรายความจำเริญต่างๆของเขาบนคุณ มันเป็นเรื่องยากมากที่จะไปฝ่าฝืนคำสั่งของผู้นั้น คุณลองนึกภาพคนสองคน คนแรกไม่เคยให้อะไรคุณเลยในชีวิตของเขา,ไม่เคยแสดงให้เห็นถึงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แล้วเขาก็มาขอให้คุณทำบางอย่างให้เขา   มันจะมีเหตุผลมากมายสำหรับคุณที่จะอ้างเพื่อหลีกเลี่ยง หรือบางครั้งอาจถึงกับบอกปฏิเสธคำขอไปเลย.
กับอีกคนหนึ่งที่เป็นเพื่อนสนิทของคุณ,ผู้ซึ่งอยู่ตรงนั้นเพื่อคุณเสมอและมอบของขวัญของกำนัลและอื่นๆให้คุณเสมอ. วันหนึ่งเขามาและขอร้องให้คุณทำบางอย่างเพื่อเขา, มันจะเป็นการยากมากๆสำหรับคุณที่จะนิ่งเฉยหรือขัดคำขอของเขา. ดังนั้นในด้านของอัลลอฮฺ,เมื่อพระองค์ทรงสั่งใช้เรา เราจะรู้สึกเขินและอับอาย.เราจะฝ่าฝืนอัลลอฮฺได้อย่างไรหลังจากทุกๆสิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้เรา ?
3.มันจะทำให้ผู้ศรัทธาต้องการโดยธรรมชาติที่จะมีเมตตาต่อผู้
อัลลอฮฺทรงตรัสว่า "...และพวกเจ้าจงอภัยและยกโทษ(ให้แก่พวกเขาด้วยเถิด) พวกเจ้าจะไม่ชอบหรือที่อัลลอฮฺจะทรงอภัยให้แก่พวกเจ้า" (24:22)
หมายความว่าหากคุณต้องการให้อัลลอฮฺแสดงความเมตตาคุณ.ก็จงแสดงความเมตตาต่อผู้อื่น.
จากคำพูดของนบี ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม : ญาบิรบินอับดุลลอฮฺ รายงานว่า รอซูลของอัลลอฮฺ ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ผู้ใดไม่แสดงความเมตตาต่อมนุษย์ อัลลอฮฺจะไม่แสดงความเมตตาต่อเขา" (บุคอรี)
และท่านกล่าวว่า : "อัลลอฮฺจะทรงเมตตาต่อบรรดาบ่าวของพระองค์ที่มีเมตตา"
4.ผู้นั้นจะพยายามอย่างที่สุดเพื่อที่จะได้รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักและอะไรที่ทรงรังเกียจ
เช่น หากมีบางคนทำดีต่อคุณเสมอ และเขาก็มาหาคุณที่บ้าน และคุณจะทำอาหารบางอย่างให้เขาที่เขาชอบ และหากคุณไม่รู้ว่าเขาชอบอะไรคุณก็จะถามเขาว่า ' คุณชอบกินอะไร ?'
นี่เป็นเพราะความรู้สึกโดยธรรมชาติ,เมื่อมีบางคนทำดีกับคุณเสมอ,คุณจึงต้องการตอบสนองโดยการทำบางอย่างที่เขาชอบกลับไปให้เขา. ดังนั้นผู้ศรัทธาก็พยายามอย่างที่สุดที่จะเรียนรู้ ฮะล้าลและฮารอม,และนี่คือมุมมองของเขาเกี่ยวกับฮะล้าลและฮารอม. ซึ่งจะไม่เหมือนกับคนอื่นๆที่เรียนรู้มันโดยคิดว่ามันเป็นเพียง กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆเท่านั้น คือ เขาจะคิดว่า ' หากฉันทำแบบนี้แบบนั้นฉันจะต้องลงนรก...'
แต่ทว่าผู้ศรัทธาเรียนรู้ฮะล้าลและฮารอม เพื่อที่เขาจะได้รู้ว่าอัลลอฮฺทรงชอบและไม่ทรงชอบอะไรบ้าง.
ดังนั้นเมื่อเราเรียน เช่น เรียนฟิกฮฺเกี่ยวกับการละหมาด,ใจจริงในการที่เรียนไปหรือมีความต้องการที่จะเรียนก็เพื่อที่จะสักการะอัลลอฮฺด้วยกับวิธีการที่พระองค์ทรงรัก,เมื่อคุณเรียนรู้เกี่ยวกับฮารอม,คุณก็ระวังเพื่อไม่ให้ตกลงไปอยู่ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรังเกียจ.
5.คุณจะมีความรู้สึกเหล่านี้ที่ว่า คุณไม่สามารถชดใช้คืนให้อัลลอฮฺได้เลย คุณไม่สามารถทำให้สิทธิของพระองค์สมบูรณ์ได้เลย.
ดังนั้นผู้ศรัทธาจะอยู่ในสถานะของผู้ที่รู้สึกเสียดายตลอด ไม่ว่าเขาจะทำอิบาดะหฺมากเพียงใดก็ตาม เขาจะสำนึกเสมอว่าอิบาดะหฺชิ้นนี้(ที่เขากำลังปฏิบัติอยู่)จะไม่สามารถเทียบค่ากับความเอื้อเฟื้อของอัลลอฮฺที่มีต่อเขาได้.
ดังนั้นเมื่อเรามองไปสู่ชีวิตของบรรดาผู้คนดีๆที่ล่วงลับไปก่อนหน้าเรา เราจะเห็นว่าพวกเขาต่างเป็นผู้ซึ่งไม่เคยรู้สึกภาคภูมิกับบรรดาการปฏิบัติอิบาดะหฺที่พวกท่านได้ทำไป ตรงกันข้ามพวกท่านกลับรู้สึกไม่เพียงพอในการปฏิบัติอิบาดะหฺของพวกท่าน,มิใช่เพราะสภาพของตัวอิบาดะหฺที่พวกท่านทำ แต่ทว่ามันเป็นเพราะพวกท่านรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺและจำนวนของความเมตตากรุณาของพระองค์ที่มีบนพวกท่าน.พวกท่านไม่สามารถเทียบอิบาดะหฺเหล่านั้นกับความกรุณาปราณีและความเอื้อเฝื้อของอัลลอฮฺได้
มิเช่นนั้นแล้วอิบาดะหฺของพวกท่านถือว่าอยู่ในระดับที่ยิ่งใหญ่.
6.บ่าวจะไม่หมดหวังจากความเมตตาของพระองค์เป็นอันขาด
قُلْ يٰعِبَادىَ الَّذِيْنَ اَسْرَفُوْاعَلٰٓى اَنْفُسِهِمْ لَا تَقْنَطُوْامِنْ رَّحْمَةِ اللهِ  ۚ  اِنَّ اللّٰهَ يَغْفِرُالذُّنُوْبَ جَمِيْعًا  ۚ  اِنَّهٗ هُوَ الْغَفُوْرُالرَّحِيْمُ  ۝
จงกล่าวเถิด, "ปวงบ่าวของข้าเอ๋ย! บรรดาผู้ละเมิดต่อตัวของพวกเขาเองพวกท่านอย่าได้หมดหวังต่อพระเมตตาของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอภัยความผิดทั้งหลายทั้งมวล แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ" (อัซซุมัร:53)